วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

วิดีโอเรื่องเคมีอินทรีย์


วิดีโอเรื่องกรทอุตุนิยมวิทยา


วิดีโอจักรวาลวิทยา


วิดีโอจันทรุปราคา


วิดีโอเรื่องสุริยุปราคา


ข้อสอบจักรวาลวิทยา

1)
ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด
ก.
ดวงดาว
ข.
ดวงจันทร์
ค.
อุกกาบาต
ง.
ดาวหาง
2)
เหตุใดเราจึงมองเห็นดวงจันทร์ได้
ก.
ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่มาก
ข.
ดวงจันทร์มีแสงสว่างในตัวเอง
ค.
โลกสะท้อนแสงอาทิตย์ไปยังดวงจันทร์
ง.
ดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มายังโลก
3)
ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ เราจะมองเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก.
เห็น เพราะดวงจันทร์มีแสงสว่างในตัวเอง
ข.
เห็น เพราะดวงจันทร์ยังโคจรรอบโลกเช่นเดิม
ค.
ไม่เห็น เพราะดวงจันทร์จะหยุดโคจรรอบโลก
ง.
ไม่เห็น เพราะดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
4)
ใน 1 ปี จะเกิดข้างขึ้นจำนวนกี่ครั้ง และถ้านักเรียนมีอายุ 10 ปี จะผ่านข้างขึ้นกี่ครั้ง
ก.
12 ครั้ง / 120 ครั้ง
ข.
24 ครั้ง / 240 ครั้ง
ค.
36 ครั้ง / 360 ครั้ง
ง.
ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการโคจรของดวงจันทร์
5)
วันเดือนดับ ตรงกับวันใด
ก.
ขึ้น 8 ค่ำ
ข.
ขึ้น 15 ค่ำ
ค.
แรม 8 ค่ำ
ง.
แรม 15 ค่ำ
6)
ถ้าทิศตะวันออกอยู่ทางขวามือของนักเรียน อยากทราบว่าในวันแรม 3 ค่ำ เราจะมองเห็นดวงจันทร์เหมือนในข้อใด
ก.
ข.
ค.
ง.
7)
ถ้าวันที่ 1 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ อีกกี่วันเราจึงจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
ก.
8 วัน
ข.
12 วัน
ค.
14 วัน
ง.
15 วัน
8)
การเกิดข้างขึ้นข้างแรมใน 1 รอบ กินเวลานานเท่าใด
ก.
365 วัน
ข.
30 วัน
ค.
28 วัน
ง.
1 วัน
9)
การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ พร้อมๆ กับหมุนรอบตัวเองไปด้วย ทำให้เกิดสิ่งใด
ก.
ฤดูกาล
ข.
น้ำขึ้นน้ำลง
ค.
กลางวันกลางคืน
ง.
ข้างขึ้นข้างแรม
10)
ประเทศที่มี 3 ฤดู จะอยู่ในบริเวณใด
ก.
ขั้วโลกเหนือ
ข.
ขั้วโลกใต้
ค.
บริเวณซีกโลกใต้
ง.
ใกล้เส้นศูนย์สูตร

1.ข  2.ข  3.ค  4.ค  5.ง  6.ก  7.ง  8.ก  9.ค   10.ง

ข้อสอบจันทรุปราคา

1)
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบสุริยะ
ก.
ระบบสุริยะ คือ ดาราจักร
ข.
ระบบสุริยะ คือ ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์
ค.
ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อยืนอยู่บนโลก
ง.
ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่หมุนอยู่ในวงโคจรภายใต้แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์
2)
ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ข.
โลกเป็นดาวเคราะห์วงในที่มีดวงจันทร์ 1 ดวง
ค.
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน และมีขนาดเล็กกว่าโลก
ง.
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงในที่มองเห็นจากพื้นโลกมีสีแดง
3)
ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด
ก.
ดาวพุธ
ข.
ดาวศุกร์
ค.
ดาวอังคาร
ง.
ดาวเนปจูน
4)
การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติข้อใด
ก.
ฤดูกาล
ข.
สุริยุปราคา
ค.
น้ำขึ้นน้ำลง
ง.
จันทรุปราคา
5)
ข้อใดเกี่ยวข้องกับการเกิดฤดูกาล
ก.
การหมุนรอบตัวเองของโลก
ข.
ตำแหน่งดวงอาทิตย์บนเส้นขอบฟ้ามีความสูงแตกต่างกันไป
ค.
การที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก
ง.
การโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยทำมุมตั้งฉากกับเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก
6)
ทฤษฎีบิกแบง หรือทฤษฎีการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับมากกว่าทฤษฎีอื่นเพราะเหตุใด
ก.
การค้นพบควอซาร์
ข.
การค้นพบรังสีความร้อน
ค.
การขยายตัวของระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง
ง.
ทั้ง 3 ข้อรวมกัน
7)
ดาวเคราะห์ดวงใดในระบบสุริยะที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุด
ก.
ดาวพลูโต
ข.
ดาวเสาร์
ค.
ดาวอังคาร
ง.
ดาวพฤหัสบดี
8)
ข้อใดเรียงลำดับขนาดของดาวเคราะห์จากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็กได้ถูกต้อง
ก.
ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส ดาวศุกร์ โลก
ข.
ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส โลก ดาวศุกร์
ค.
ดาวศุกร์ โลก ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส
ง.
ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โลก ดาวศุกร์
9)
ถ้าดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับการโคจรรอบโลกคือ 30 วัน ดังนั้น หนึ่งวันบนดวงจันทร์จะเท่ากับกี่วันบนโลก
ก.
15 วัน
ข.
30 วัน
ค.
45 วัน
ง.
60 วัน
10)
ข้อความใดที่ใช้อธิบายวิถีของดวงจันทร์ในวันขึ้น 15 ค่ำ ได้ถูกต้องที่สุด
ก.
ดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ข.
โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ค.
โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก
ง.
โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก

1.ข  2.ง  3.ง  4.ก  5.ค  6.ง  7.ง  8.ข  9.ค  10.ก

ข้อสอบกรมอุตุนิยมวิทยา

1. Meteorology  คือ
ตอบ  อุตุนิยมวิทยา

2. อุตุนิยม   แปลว่าอะไร  
ตอบ    อุตุนิยมวิทยา  แปลว่า  วิชากำหนดส่วนของปีหรือกำหนดฤดู
อุตุ  แปลว่า   ฤดู   สบาย   นอนใจ   หมดวิตก
นิยม  แปลว่า   กำหนด   ชอบ  หรือนับถือ
วิทยา  แปลว่า  วิชาความรู้

3. อุตุนิยมวิทยา คืออะไร
ตอบ  เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบรรยากาศของโลก โดยเน้นการพยากรณ์อากาศ และกระบวนการของสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่สังเกตได้ ซึ่งให้ความกระจ่างและอธิบายได้ด้วยศาสตร์แห่งอุตุนิยมวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากความแปรผันที่มีอยู่ในบรรยากาศของโลก ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ไอน้ำ และองค์ประกอบต่างๆ และปฏิกิริยาของตัวแปรต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ประเด็นหลักของการศึกษาและการสังเกตเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกนั้น อยู่ที่ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (troposphere)

6. อุตุนิยมวิทยาเป็นวิชาสาขาหนึ่งของวิชาอะไร
ตอบ   วิชาภูมิฟิสิกส์ (geophysics) การศึกษาอุตุนิยมวิทยาต้องอาศัยวิชาคำนวณฟิสิกส์ และข้อมูลที่ได้จากการตรวจอากาศตามระดับต่างๆ บนพื้นดินและตามบริเวณต่าง ๆ ของโลก

9. อุตุนิยมวิทยาไดนามิกและอุตุนิยมวิทยาแผนที่อากาศ มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   การศึกษาอุตุนิยมวิทยาไดนามิกต้องอาศัย การศึกษากฎและทฤษฎีกลศาสตร์ของของเหลว (fluid mechanics of hydrodynamic) เพื่อที่จะนำมาอธิบายพฤติการณ์ของบรรยากาศ ในขณะนั้น และเพื่อการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า
การศึกษาอุตุนิยมวิทยาแผนที่อากาศ อาศัยการศึกษาข้อมูลตรวจอากาศจากบริเวณกว้าง เพื่อที่จะทราบสภาวะของบรรยากาศ และเพื่อการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเช่นกัน
อุตุนิยมวิทยาไดนามิก เป็นการศึกษาด้านทฤษฎี ส่วนอุตุนิยมวิทยาแผนที่อากาศ เป็นการศึกษา ลักษณะของอากาศในปัจจุบันหรือประจำวัน ซึ่งเรียกว่า " กาลอากาศ"


10. กาลอากาศ   (Weather)  ได้แก่
ตอบ       •ลมฟ้าอากาศ

ข้อสอบเคมีอินทรีย์

1. สารเคมีส่วนใหญ่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใด
ก. แร่ธาตุต่าง ๆ      ข. พืช     ค. สัตว์      ง. ข้อ ก และ ข ถูก

2. นักวิทยาศาสตร์ชาติใด พบว่าสารอินทรีย์ประกอบด้วยธาตุหลัก3ธาตุ
ก. เยอรมันนี       ข. เวียดนาม    ค. อังกฤษ    ง. ฝรั่งเศส

3. นักเคมีชาวสวีเดน เริ่มใช้คำว่า “ เคมีอินทรีย์” Corganic chemistry เป็นครั้งแรกปี ค.ศ. ใด
ก. ค.ศ. 1807     ข. ค.ศ. 1808     ค. ค.ศ. 1809       ง. ค.ศ. 1810

4. สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
ก. ออกซิเจน   ข. ไนโตรเจน   ค. คาร์บอนไดออกไซด์   ง. คาร์บอนมอนนอกไซด์และออกซิเจน

5. ส่วนประกอบของสารอินทรีย์ชนิดใดเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ก. เชื้อเพลิงธรรมชาติ    ข. พืช        ค. สัตว์      ง. แร่ธาตุ

6. ธาตุคาร์บอนมีอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดมีกี่อนุภาค
ก. 1     ข. 2      ค. 3       ง. 4

7. เพราะเหตุใดทำให้การดึงดูดระหว่างนิวเครียสกับอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดน้อยลง
ก. ขนาดอะตอมเล็กกว่าคาร์บอน          ข. ขนาดอะตอมเท่ากับคาร์บอน
ค. ขนาดอะตอมใหญ่กว่าคาร์บอน         ง. ขนาดอะตอมไม่สามารถระบุได้

8. สารประกอบพวกคาร์บอนในโมเลกุลต่อกันเป็นแบบใด
ก. โซ่ปิด       ข. โซ่เปิด     ค. วงแหวน      ง. ถูกทั้ง ก และ ข

9. สารประกอบที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมดได้แก่พวกใด
ก. แอลไคน์       ข. แอลคีน      ค. แอลเคน      ง. ไซโคลแอลคีน

10. ปฏิกิริยาที่โมเลกุลชนิดเดียวกับหรือคล้ายกับจำนวนมากคือข้อใด
ก. ปฏิกิริยาการจัดเรียงใหม่       ข. โพลิเมอไรเซชัน
ค. ปฏิกิริยาคอนเดนเซชัน         ง. ออกซิเดชัน

เฉลย
1.ง  2.ง  3.ข  4.ก  5.ค 6.ง 7.ข  8.ข  9.ค  10.ข




ข้อสอบเกี่ยวกับสุริยุปราคา

แบบทดสอบหลังเรียน    เรื่อง    ปรากฏการณ์สุริยุปราคา

1.วันที่ชาวประมงบอกว่าเป็นวันที่มี  น้ำเป็น  ตรงกับวันใด
 ก.วันขึ้น  15   ค่ำ และวันแรม  15  ค่ำ
 ข. วันขึ้น  8   ค่ำ และวันแรม  15  ค่ำ
 ค. วันขึ้น  8   ค่ำ และวันแรม  8  ค่ำ        
 ง. วันขึ้น  15   ค่ำ และวันแรม  8  ค่ำ
2. ในหนึ่งปีจะมีโอกาสเกิดจันทรุปราคาได้กี่ครั้ง
 ก. 4  ครั้ง
 ข. 3  ครั้ง
 ค. 2  ครั้ง้
 ง. 1  ครั้ง
3. วันใดในรอบปีที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
 ก. วันที่  23  มิถุนายน  และวันที่  21  กันยายน
 ข. วันที่  21  มีนาคม  และวันที่  23  กันยายน
 ค. วันที่  23  มิถุนายน  และวันที่  21  ธันวาคม
 ง. วันที่  22  มิถุนายน  และวันที่  22 ธันวาคม
4. ฝนดาวตกลีโอนิดส์  จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนใด
 ก. พฤศจิกายน
 ข. ตุลาคม
 ค. มกราคม
 ง. ธันวาคม
5.จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นในวันใดมากที่สุด
 ก. วันที่ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง  แรม  8  ค่ำและขึ้น  8  ค่ำ
 ข. วันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง  ขึ้น  15  ค่ำ
 ค. วันที่ดวงจันทร์มืดหมดดวง  แรม  15  ค่ำ
 ง.สามารถเกิดได้ทุกวัน

คะแนนที่คุณทำได้=  คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
เฉลยคำตอบ :