บทที่4

ในฟิสิกส์วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ [1][2]วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี
ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ [3]

ประวัติ[แก้]

ในอดีตปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้มีความเข้าใจกันมาก่อนหน้าในเชิงเรขาคณิต (และโดยไม่คำนึงถึงแรงโน้มถ่วง) ในแง่ของ ทฤษฎีแอปปิไซเคิล (epicycles) ซึ่งเป็นผลรวมของการเคลื่อนที่เป็นวงกลมเป็นจำนวนมาก ทฤษฎีชนิดนี้คาดการณ์เส้นทางของดาวเคราะห์ได้ดีพอควร จนกระทั่ง โยฮันเนส เคปเลอร์ สามารถแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่แท้แล้วมีการเคลื่อนที่เป็นวงรี (โดยประมาณเป็นอย่างน้อย)
ในแบบจำลองซึ่งมีโลกเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ แบบจำลองทรงกลมท้องฟ้าถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ปรากฏของดาวเคราะห์ในท้องฟ้าในแง่ของทรงกลมที่สมบูรณ์แบบหรือวงแหวน แต่หลังจากที่การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ถูกวัดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น กลไกเชิงทฤษฎีเช่น deferent และ epicyclesได้ถูกเพิ่มเติมเข้าไป แม้ว่าจะมีความสามารถในการทำนายตำแหน่งดาวเคราะห์ในท้องฟ้าได้อย่างถูกต้อง, ทฏษฎี epicycles ก็ได้มีความจำเป็นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป, และแบบจำลองก็กลายเป็นความเทอะทะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
พื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจในยุคสมัยใหม่เกี่ยวกับวงโคจรเป็นสูตรแรกที่คิดขึ้นโดยโยฮันเนส เคปเลอร์ที่มีผลการสรุปในสามกฎของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ประการแรกเขาพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราเป็นวงรี ไม่ได้เป็นวงกลม (หรือ epicyclic) ดังเช่นที่เคยเชื่อกัน และยังกล่าวว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่ศูนย์กลางของวงโคจร แต่อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง ประการที่สอง เขาพบว่าความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่คงที่ดังที่เคยคิดไว้ก่อนหน้า แต่พบว่าความเร็วขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์ ประการที่สามเคปเลอร์พบความสัมพันธ์สากลระหว่างสมบัติการโคจรของดาวเคราะห์ทั้งหมดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ สำหรับดาวเคราะห์, กำลังสามของระยะทางจากดวงอาทิตย์เป็นสัดส่วนกับกำลังสองของคาบการโคจรของมัน ยกตัวอย่างเช่น ดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์จะมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 และ 0.723 หน่วยดาราศาสตร์ (AU), มีคาบการโคจรประมาณ 11.86 ปี และ 0.615 ปี ตามลำดับ ความเป็นสัดส่วนกันนั้นจะเห็นได้โดยข้อเท็จจริงที่อัตราส่วนดังกล่าวสำหรับดาวพฤหัสบดีเป็น 5.23/11.862, สำหรับดาวศุกร์เป็น 0.7233/0.6152 สอดคล้องกับความสัมพันธ์กันตามกฏดังกล่าว

เส้นที่ลากออกเป็นวงโคจรที่เป็นอิทธิพลเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของแหล่งกำเนิดศูนย์กลางคือภาคตัดกรวย: รูปร่างของเส้นโค้งของจุดตัดระหว่างระนาบและกรวย ได้แก่ พาราโบลา (1) และไฮเปอโบลา (3) วงโคจรที่เป็นวงโคจรหลุดพ้นจะเป็นวงโคจรที่เป็นรูปวงรีและวงกลม คือ จะไม่มีทางออก (2)

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ (trajectory) ในบ่อศักย์ความโน้มถ่วงของสนามพลังงานศักย์ของศูนย์กลางมวลสี่ประเภท โดยแสดงให้เห็นในส่วนที่เป็นสีดำและความสูงของพลังงานจลน์ของวัตถุเคลื่อนไหวที่แสดงในส่วนที่เป็นสีแดงที่ยืดขยายออกไป, ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของระยะทางอันสอดคล้องกันกับกฎของเคปเลอร์
ไอแซก นิวตัน ได้แสดงให้เห็นว่ากฎของเคปเลอร์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขาและกล่าวอีกว่า, โดยทั่วไปแล้ว วงโคจรของวัตถุอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงคือภาคตัดกรวยถ้าแรงโน้มถ่วงถูกแพร่กระจายออกอย่างทันทีทันใด นิวตันแสดงให้เห็นว่าคู่ของวัตถุ, ขนาดวงโคจร, จะเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของมันเอง, และวัตถุนั้นจะโคจรไปรอบ ๆ ศูนย์กลางมวล (center of mass) ร่วมกัน เมื่อวัตถุหนึ่งที่มีขนาดของมวลมากกว่าขนาดของมวลอื่น ๆ มันจะเป็นการประมาณการที่สะดวกในการที่จะใช้เป็นศูนย์กลางของมวลนั้นที่มีความสอดคล้องต้องกันกับศูนย์กลางมวลของวัตถุที่มีขนาดมวลที่มีขนาดมากกว่า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) สามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ว่าแรงโน้มถ่วงนั้นเกิดจากความโค้งของกาล-อวกาศ (space-time) และเขาก็สามารถที่จะลบล้างสมมติฐานของนิวตันที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแพร่กระจายตัวออกไปอย่างทันทีทันใดของแรงโน้มถ่วงลงได้อีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น